วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

การละเล่น



ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร           
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้
ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ...
คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป


การละเล่นไทย

เด็กๆในอดีตมีอิสระในการละเล่น สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ โดยคิดกฎกติกาได้เอง การละเล่นของเด็กไทยในอดีต ทั้งที่เล่นกลางแจ้งและในร่ม โดยส่วนใหญ่เลียนแบบจากการทำงานและอาชีพของผู้ใหญ่ หรือคิดการละเล่นใหม่ๆ เพื่อแข่งขันในหมู่เพื่อนกันเองโดยเฉพาะ
        การละเล่นของเด็กๆ หลายอย่างสามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยที่เด็กรู้สึกเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อ วัสดุธรรมชาติอย่างเช่น ต้นกล้วย   หลังจากนำใบตองมาห่อของแล้ว ก้านกล้วยก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็น ม้าก้านกล้วย ให้เด็กๆนำมาวิ่งเล่นได้ด้วย


ม้าก้านกล้วย

เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของเด็กผู้ชาย วัสดุที่นำมาประดิษฐ์เป็นม้าคือ ก้านกล้วย ตัดเลียนแบบหัวและคอม้า อาจทำสายบังเหียนให้ดูคล้ายของจริง เด็กๆ จะขึ้นไปขี่บนหลังม้าก้านกล้วย ทำท่าเหมือนขี่ม้าจริง อาจจะแข่งขันว่าใครวิ่งเร็วกว่ากัน หรืออาจขี่ม้าก้านกล้วยวิ่งไปรอบบริเวณลานกว้างๆก็ได้
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น